ไวรัส เอ็น พี วี โมเดลนวัตกรรมทางการเกษตร มุ่งเป้าเกษตกรรมยั่งยืน
Nuclear Polyhedrosis Virus (NPV) หรือ ไวรัส เอ็น พี วี เป็นไวรัสที่ทำให้เกิดโรคกับแมลง จึงสามารถนำมาใช้ควบคุมแมลงศัตรูพืช ทดแทนการใช้สารเคมี และมีคุณสมบัติเด่นคือ ทำลายเฉพาะศัตรูพืชเป้าหมาย จึงไม่เป็นอันตรายต่อแมลงที่มีประโยชน์ในธรรมชาติ ปลอดภัยสำหรับมนุษย์ และสิ่งแวดล้อม โดยกลไกการเข้าทำลาย คือเมื่อตัวอ่อนของแมลงกินไวรัสเอ็นพีวี ที่เกษตรกรฉีดพ่น ไวรัสจะเข้าสู่กระเพาะอาหาร ส่งผลให้หนอนลดการกินอาหารลง และเมื่ออนุภาคของไวรัสขยายพันธุ์ทวีจำนวนมากขึ้น ไวรัสจะแพร่กระจายเข้าสู่ภายในลำตัวของแมลง…
รู้จักอุตสาหกรรมก่อนเชื่อมโยงงานวิจัย
เข้าใจแนวคิดของอุตสาหกรรม และวิวัฒนการ รูปแบบการผลิตที่เหมาะสม การบริหาร การผลิต แนวคิดระหว่างนักวิจัย และนักอุตสาหกรรม แนวทางการเข้าสู่อุตสาหกรรม
การสร้าง Infographic เพื่อการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ
เจาะลึก Infographic ที่ดีเป็นอย่างไร ออกแบบ สร้างสื่อในยุคเทคโนโลยี Digital Content ข้อมูลอันซับซ้อนในเวลาจำกัดได้อย่างไร นำเสนอในแบบ Infographic ให้สวยงาม เข้าใจง่าย อย่างรวดเร็ว ด้วยองค์ประกอบศิลป์ เสริมภาพลักษณ์สำหรับสื่อให้โดนใจอย่างสร้างสรรค์ บรรยายพร้อมทั้งฝึกปฏิบัติเข้ม เน้น Pick Up พร้อมเทคนิค Trick & Tip ในการออกแบบต่างๆ…
ศูนย์นวัตกรรมอาหารและอาหารสัตว์
ศูนย์นวัตกรรมอาหารและอาหารสัตว์ (Food and Feed Innovation Center หรือ FFIC) เป็นศูนย์ฯ ที่มีความเชี่ยวชาญหลากหลาย ตั้งแต่ การคัดเลือกจุลินทรีย์ที่มีความสามารถพิเศษ เทคโนโลยีการหมัก เทคโนโลยีชีวกระบวนการ การประเมินความเสี่ยง ความปลอดภัยในอาหาร เคมีอาหาร การผลิตสารมูลค่าสูงจากวัสุดเศษเหลือจากการแปรรูปอาหาร สารต้านอนุมูลอิสระ เปปไทด์ต้านจุลชีพ วิทยาศาสตร์เนื้อสัตว์ และ nutrigenomics…
ศูนย์ชีววัสดุประเทศไทย
Thailand Bioresource Research Center (TBRC) เป็นคลังชีววัสดุที่มีการบริการชีววัสดุพร้อมข้อมูลและเทคโนโลยีการใช้ประโยชน์ ในระดับมาตรฐานของนานาชาติ โดยเป็นศูนย์กลางการให้บริการชีววัสดุประเภทต่างๆ เช่น จุลินทรีย์ ดีเอ็นเอ พลาสมิด โมโนโคลนอลแอนติบอดี ไฮบริโดรมา เนื้อเยื่อสัตว์ และเนื้อเยื่อพืช รวมทั้งให้บริการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับชีววัสดุแบบครบวงจร มีการบริหารจัดการเครือข่ายคลังชีววัสดุของประเทศและภูมิภาคอาเซียน เพื่อให้มีการเก็บรักษาและศึกษาวิจัยด้านการใช้ประโยชน์ชีววัสดุให้เหมาะสมกับความต้องการของอุตสาหกรรมทั้งระดับภูมิภาค ประเทศ และท้องถิ่น โดยสร้างความร่วมมือผ่านเครือข่ายศูนย์จุลินทรีย์และชีววัสดุต่างๆ ทั้งในสถาบันการศึกษา…
ENZboost สารเสริมในอาหารสัตว์
ฟาร์มเกษตรกรและผู้ประกอบการเลี้ยงสัตว์ส่วนใหญ่นิยมใช้ข้าวโพดและถั่วเหลืองเป็นวัตถุดิบสำหรับทำอาหารสัตว์ ด้วยเหตุนี้อาหารสัตว์ที่ได้จึงองค์ประกอบของแมนแนนและกาแลคโตแมนแนนอยู่สูง ซึ่งแมนแนนนั้นทำให้เกิดความหนืดในระบบทางเดินอาหารของสัตว์ ส่งผลให้ระบบย่อยของสัตว์ทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ และขัดขวางการดูดซึมแร่ธาตุอาหารอื่นๆ ส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของสัตว์และลดประสิทธิภาพของอัตราแลกเนื้อ นักวิจัย ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) ได้นำเอนไซม์แมนนาเนสจากเชื้อรา Aspergillus niger มาใช้เป็นสารเสริมในอาหารสัตว์ โดยให้ชื่อว่า ENZboost ซึ่งสามารถทำงานได้ในสภาวะพีเอช (pH) ที่กว้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพีเอชที่มีสภาวะเป็นกรด ซึ่งเป็นสภาวะของระบบทางเดินอาหารสัตว์ โดยผลการทดสอบภาคสนามกับไก่เนื้อพบว่า ENZboost สามารถเพิ่มการใช้ประโยชน์ของพลังงานในสูตรอาหารได้ดี…
A-Zyme เอนไซม์ช่วยย่อยอาหารสัตว์
ปัญหาหนึ่งของปศุสัตว์ คือ เรื่องอาหารไม่ย่อยเพราะขาดเอนไซม์ที่จำเป็นในการย่อยอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรตที่ไม่ใช่แป้ง เช่น เปลือกพืช กากเมล็ดธัญพืชที่ใช้เป็นอาหารสัตว์ เช่น กาก รำ ฯลฯ ถ้าให้อาหารเหล่านี้โดยไม่เสริมเอนไซม์ สัตว์จะดูดซึมไม่เต็มที่ ส่งผลให้ไม่แข็งแรงและผลผลิตต่ำ “เอนไซม์อาหารสัตว์” จึงมีความสำคัญต่อเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์มาก ที่ผ่านมาประเทศไทยต้องนำเข้าเอนไซม์อาหารสัตว์มูลค่าหลายพันล้านบาท ทีมวิจัยนำเชื้อราแอสเปอร์จิลลัสผลิต “เอนไซม์เพนโตซาเนส” ที่ทำงานได้ดีในลำไส้ของสัตว์ พัฒนาให้เป็นเอนไซม์อาหารสัตว์มีชื่อเรียกทางการค้าว่า A-zyme ซึ่งเมื่อนำไปทดลองกับสุกรพบว่า ทำให้น้ำหนักมากขึ้น…
โรคไข้เลือดออก กับวิธีตรวจชนิดไวรัสแบบฉับไว
การติดเชื้อซ้ำด้วยไวรัสเด็งกี่ที่ต่างซีโรทัยป์กันกับครั้งแรก เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่ามีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไข้เลือดออกที่มีอาการรุนแรงได้ ดังนั้นการทราบซีโรทัยป์ของไวรัสเด็งกี่ที่ติดเชื้อในผู้ป่วย จะเป็นประโยชน์อย่างมาก ในเชิงของระบาดวิทยา และการวางแผน ดูแล และให้การรักษาผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด ซึ่งจะช่วยลดอัตราการสูญเสียจากอาการเจ็บป่วย และเสียชีวิตจากโรคไข้เลือดออกได้ วิธีการตรวจแยกซีโรทัยป์ของไวรัสเด็งกี่ที่ใช้กันในปัจจุบัน ใช้วิธีทำ RT-PCR หรือการเพาะเชื้อไวรัสเด็งกี่ในเซลล์เพาะเลี้ยง ซึ่งมีความซับซ้อน ใช้เวลานาน และมีต้นทุนสูง การตรวจวินิจฉัยโรคไข้เลือดออก ที่ทราบชนิดของเชื้อไวรัสได้ทันที โดยใช้หลักการทางคุ้มกันวิทยามาตรวจหาโปรตีนไวรัส Ns1 ของไวรัสเดงกี่ ชุดตรวจนี้สามารถวินิจฉัยการติดเชื้อไวรัสเดงกี่ในผู้ป่วย ได้ตั้งแต่ช่วงที่ยังมีไข้…
ENZease จากแล็ปสู่วิสาหกิจชุมชน
“เอนอีซ” (EnZease) เอนไซม์สำหรับใช้ในการทำความสะอาดผ้าฝ้ายแบบขั้นตอนเดียว ที่สามารถขจัดแป้ง แว๊กซ์ และทำความสะอาดสิ่งสกปรกในผ้าฝ้ายไปพร้อมๆ กัน โดยไม่ต้องทำความสะอาดหลายขั้นตอนเหมือนวิธีเดิมในปัจจุบัน อีกทั้งยังช่วยลดสารเคมีที่ใช้ในขั้นตอนการทำความสะอาด จากผลการทดสอบภาคสนาม ทั้งในโรงงานสิ่งทอธนไพศาล จ. สมุทรปราการ และวิสาหกิจชุมชนหม้อห้อมทุ่งเจริญย้อมสีธรรมชาติ จ. แพร่พบว่าผ้าที่ได้ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน มีความนุ่ม ความแข็งแรงที่มากกว่าผ้าที่ผ่านกระบวนการผลิตด้วยวิธีทางเคมี และสามารถนำเข้าสู่กระบวนการฟอกย้อมและพิมพ์ลายต่อไปได้
ENZease จากแล็บสู่อุตสาหกรรมสิ่งทอ
“เอนอีซ” (EnZease) เอนไซม์สำหรับใช้ในการทำความสะอาดผ้าฝ้ายแบบขั้นตอนเดียว ที่สามารถขจัดแป้ง แว๊กซ์ และทำความสะอาดสิ่งสกปรกในผ้าฝ้ายไปพร้อมๆ กัน โดยไม่ต้องทำความสะอาดหลายขั้นตอนเหมือนวิธีเดิมในปัจจุบัน อีกทั้งยังช่วยลดสารเคมีที่ใช้ในขั้นตอนการทำความสะอาด จากผลการทดสอบภาคสนาม ทั้งในโรงงานสิ่งทอธนไพศาล จ. สมุทรปราการ และวิสาหกิจชุมชนหม้อห้อมทุ่งเจริญย้อมสีธรรมชาติ จ. แพร่พบว่าผ้าที่ได้ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน มีความนุ่ม ความแข็งแรงที่มากกว่าผ้าที่ผ่านกระบวนการผลิตด้วยวิธีทางเคมี และสามารถนำเข้าสู่กระบวนการฟอกย้อมและพิมพ์ลายต่อไปได้
อาหารปลอดภัยด้วยชุดตรวจวินิจฉัยเชื้อ Listeria monocytogenes
เชื้อ Listeria monocytogenes เป็นเชื้อแบคทีเรียก่อโรคในอาหารที่ก่อให้เกิดอันตรายทั้งกับมนุษย์และสัตว์ได้โดยหน่วยงานที่ควบคุมด้านความปลอดภัยทางด้านอาหารได้มีข้อกำหนดว่าต้องไม่พบการปนเปื้อนของเชื้อดังกล่าวในตัวอย่างอาหาร นักวิจัยศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชัวภาพ (ไบโอเทค) ได้นำเอาวิธี Immunomagnetic separation (IMS) โดยใช้ magnetic beads ที่เคลือบด้วยแอนติบอดีที่มีความจำเพาะเจาะจงต่อแบคทีเรียเป้าหมาย มาใช้ร่วมกับเทคนิค real-time PCR สำหรับการตรวจวินิจฉัยเชื้อ L. monocytogenes ในตัวอย่างอาหาร พบว่าการประยุกต์ใช้เทคนิคดังกล่าวมีประสิทธิภาพ ถูกต้อง…