หลักสูตรยานยนต์ไฟฟ้าดัดแปลง (EV conversion)
สถาบันพัฒนาบุคลากรแห่งอนาคต
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
—————————————————————————————————————————————
1. หลักการและเหตุผล
สถาบันพัฒนาบุคลากรแห่งอนาคต เป็นหน่วยงานภายใต้สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ หรือ สวทช. (NSTDA) ได้รับมอบหมายภารกิจให้ขยายขอบเขตการจัดหลักสูตรฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากร สาขาวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี เพื่อให้ครอบคลุมด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในสาขาที่ สวทช. มีความเชี่ยวชาญ โดยทำหน้าที่เป็นศูนย์รวมของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้แก่หน่วยงานทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และบุคคลทั่วไป มีการจัดฝึกอบรมสัมมนาเกี่ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์ในหลักสูตรต่าง ๆ สำหรับข้าราชการ นิสิต นักศึกษา และผู้สนใจทั่วไป ซึ่งทางเลือกหนึ่งในการศึกษาหาความรู้คือ การเรียนโดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถทำให้ผู้เรียนได้เข้าถึงเนื้อหาต่าง ๆ ผ่านช่องทางออนไลน์ โดยเข้าเรียนได้ทุกที่ทุกเวลาจากคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สมาร์ทโฟนผ่านระบบ Online Learning ของทางสถาบันฯ
สถาบันฯ มีแผนที่จะจัดทำหลักสูตรยานยนต์ไฟฟ้าดัดแปลง (EV conversion) ขึ้นเพื่อสร้างพื้นฐานความเข้าใจอย่างเป็นขั้นตอน ให้ผู้เข้ารับอบรมให้เห็นภาพรวมของวิธีการต่างๆ ที่นิยมใช้ในการดัดแปลง เข้าใจการทำงานของอุปกรณ์พื้นฐานในการดัดแปลง ทราบหลักการเบื้องต้นในการเลือกใช้อุปกรณ์ในการดัดแปลง และได้ศึกษาตัวอย่างการดัดแปลงและการติดตั้งอุปกรณ์ ทั้งยังเปิดโอกาสให้ผู้เข้าอบรมได้ทราบถึงแนวทางการสร้าง e-Engine เพื่อประยุกต์ใช้ในการดัดแปลงเกียร์อัตโนมัติ ซึ่งไม่สามารถดัดแปลงได้ด้วยวิธีการโดยทั่วไป โดยหลักสูตรดังกล่าว จะมีการจัดทำหลักสูตรในรูปแบบ e-Learning เพื่อให้ผู้ที่สนใจเข้าเรียนผ่านทางระบบออนไลน์ซึ่งการจัดทำ e-Learning ดังกล่าว
2. เนื้อหาหลักสูตร
มุ่งเน้นการให้ความรู้เบื้องต้นในการเลือกใช้อุปกรณ์ในการดัดแปลง และได้ศึกษาตัวอย่างการดัดแปลงและการติดตั้งอุปกรณ์ ได้ทราบถึงแนวทางการสร้าง e-Engine เพื่อประยุกต์ใช้ในการดัดแปลงเกียร์อัตโนมัติ ซึ่งไม่สามารถดัดแปลงได้ด้วยวิธีการโดยทั่วไป เนื้อหาประกอบด้วยหัวข้อ ดังนี้
• อธิบายภาพรวม EV conversion และศึกษาวิธีการดัดแปลงในรูปแบบต่างๆ
• เรียนรู้อุปกรณ์พื้นฐานสำหรับการดัดแปลง
• อธิบายเทคนิคการเลือกอุปกรณ์
• ศึกษาขั้นตอนจากภาพตัวอย่างการดัดแปลงและการติดตั้งอุปกรณ์จริง
3. กลุ่มเป้าหมาย
1) บริษัทที่มีกลุ่มรถยนต์ให้บริการ (Fleet) ที่ต้องการยืดอายุการใช้งานรถยนต์ที่มีอยู่ ลดการปล่อยมลพิษด้วยการดัดแปลงเป็นยานยนต์ไฟฟ้าดัดแปลง
2) ผู้ประกอบการและบริษัท และนักลงทุน ด้านยานยนต์ไฟฟ้า
3) อาจารย์มหาวิทยาลัยอาชีวศึกษาต่างๆ ที่สนใจนำความรู้ที่ได้ไปพัฒนาด้านยานยนต์ไฟฟ้าภายในหน่วยงาน
4) บุคคลทั่วไปที่มีความสนใจในเทคโนโลยี EV หรือ EV conversion