หลักสูตร: ระดับความพร้อมของเทคโนโลยี TRL
คำอธิบายบทเรียน
Technology Readiness Level หรือ TRL เป็นเครื่องมือในการสื่อสารความพร้อมของเทคโนโลยีในบริบทของการใช้งานหรือสภาวะที่พร้อมใช้งาน ระหว่างผู้พัฒนาเทคโนโลยีและผู้นำเทคโนโลยีไปต่อยอดหรือนำไปใช้งาน ผู้ที่มีความเข้าใจ TRL ยังสามารถนำ TRL ไปช่วยในการบริหารจัดการงานวิจัย ตั้งแต่การกำหนดเป้าหมาย การวางแผนงานและทรัพยากร การประเมินงบประมาณดำเนินงาน การติดตามและประเมินผลงานวิจัย การประเมินความเสี่ยงของการนำเทคโนโลยีไปใช้ ตลอดจนการตัดสินใจคัดเลือกและลงทุนในเทคโนโลยีที่เหมาะสม TRL เปรียบเสมือนภาษาสากลที่ใช้สื่อสารให้เกิดความเข้าใจตรงกัน สามารถใช้สื่อสารภายในทีมวิจัย สื่อสารกับแหล่งทุน และผู้รับเทคโนโลยี โดยหน่วยงานบริหารและจัดการทุนวิจัยหลายหน่วยงาน ได้ให้ความสำคัญในการนำ TRL มาใช้เป็นเกณฑ์ในการเปิดรับข้อเสนอโครงการ และใช้ประกอบการพิจารณาให้ทุนสนับสนุนการดำเนินงานวิจัยอีกด้วย
TRL ใช้ประเมินความพร้อมของเทคโนโลยี ไม่ใช่ความยากของเทคโนโลยี ในบางเทคโนโลยีที่มีความซับซ้อนหลายขั้นตอนหรือมีหลายปัจจัยมาเกี่ยวข้อง อาจใช้เวลาในการพัฒนาและมีปัจจัยสภาวะแวดล้อมที่แตกต่างกัน ต้องการการทดสอบให้ผ่านความพร้อมแต่ละระดับมากน้อยต่างกัน การศึกษาตัวอย่างการประเมินความพร้อมของเทคโนโลยีเทียบเคียงกับสาขางานวิจัยนั้นๆ จะช่วยทำให้เกิดความเข้าใจได้มากขึ้น
กิจกรรรมการเรียนรู้
ประกอบด้วย คลิปวีดิทัศน์ 4 บทเรียน (การประเมิน TRL 1 บทเรียน ตัวอย่างการประเมินระดับ TRL 3 บทเรียน ประกอบด้วยเรื่องเตียงไฟฟ้าสำหรับผู้ป่วยติดเตียง, การปรับปรุงข้าวหอมมะลิพันธุ์ใหม่ทนน้ำท่วมฉับพลัน และเครื่องตรวจสอบสารพิษ N ตกค้างในผักไฮโดรโปนิกส์) เอกสารเผยแพร่ความรู้ และแบบทดสอบเพื่อวัดความรู้และความเข้าใจ 20 ข้อ
กลุ่มเป้าหมาย
นักวิจัย นักวิชาการ อาจารย์ นักศึกษา และผู้ที่สนใจ
เกณฑ์การประเมิน
ผู้เรียนเข้าเรียนบทเรียน เรื่องการประเมิน TRL และทำแบบทดสอบถูก 80% ขึ้นไป จะได้รับใบประกาศนียบัตร (มีอายุรับรอบ 2 ปี นับแต่วันที่ได้รับ)
ผู้จัดทำบทเรียน
ฝ่ายพัฒนาคุณภาพการวิจัย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
Website: https://www.nstda.or.th/rqm
เอกสารประกอบการเรียน
แบบฝึกหัดก่อนเรียน
บทเรียน
แบบฝึกหัดหลังเรียน